วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

รูปภาพการซื้อขาย

                               

คำศัพท์

คำศัพท์เกี่ยวกับการเงิน financial
   
1.    account payable    บัญชีเจ้าหนี้
2.    account receivable    บัญชีลูกหนี้
3.    accrued expenses    ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
4.    accrued income    รายได้ค้างรับ
5.    accrued interest    ดอกเบี้ยค้างรับ
6.    accaccrued interest payable  ดอกเบี้ยค้างจ่าย
7.    accrued liabilities    หนี้สินค้างจ่าย
8.    accrued receivables    รายได้ค้างรับ
9.    accumulated profit    กำไรสะสม
10.    accumulated retirement    เงินสะสม
11.    administrative budget    งบประมาณการบริหาร
12.    advance payment    จ่ายเงินล่วงหน้า
13.    advanced money    เงินทดรอง
14.    allowance    เงินอุดหนุน
15.    allowance for uncollectibles  สำรองหนี้สูญ
16.    annual income    รายได้ประจำปี
17.    annuity    เงินปี
18.    appreciate    ค่าเงินแข็งขึ้น
19.    appropriated expenditures    รายจ่ายจัดสรร
20.    appropritation budget    งบประมาณที่จัดสรรไว้
21.    arrearages; arrears    เงินที่ค้างชำระหนี้
22.    arrears    เงินค้างชำระ
23.    assets    สินทรัพย์
24.    authorized shares    หุ้นที่จดทะเบียน
25.    average earning    รายได้เฉลี่ย
26.    bad debt    หนี้สูญ
27.    bad debt reserve    เงินสำรองหนี้สูญ
28.    balance sheet    งบดุล
29.    balanced budget    งบประมาณสมดุล
30.    balloon loan    เงินกู้ระยะสั้น
31.    bank account    บัญชีเงินฝากธนาคาร
32.    bank advances    เงินที่ธนาคารให้กู้ยืม
33.    bank charges    ค่าธรรมเนียมบริการของธนาคาร
34.    bank loan    เงินกู้จากธนาคาร
35.    bank overdraft    เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร
36.    banking    การธนาคาร
37.    bill of exchange    ตั๋วแลกเงิน
38.    bond    หุ้นกู้
39.    bonds payable    เงินกู้
40.    bonus    เงินโบนัส

การซื้อขาย

A : Good morning. Can I help you ?
( กู้ด ม้อร์นิ่ง แคน ไอ เฮล ยู )
สวัสดีค่ะ มีอะไรให้ฉันช่วยไหมคะ


B : Yes, please. I want to buy some fruit. Do you have some papayas ?
( เยส พลีส ไอ ว้อน ทู บาย ซัม ฟรุ้ท ดู ยู แฮฟ ซัม พัพพ่ะย่ะ )
มีค่ะ ฉันต้องการซื้อผลไม้ คุณมีมะละกอไหมคะ


A : Yes. How many do you want ?
( เยส ฮาว เม้นี่ ดู ยู ว้อน )
มีค่ะ คุณต้องการเท่าไหร่คะ


B : Two please, and give me six apples, a pomelo and a watermelon too. Do you have
Oranges ?
( ทู พลีส แอน กีฟ มี ซิกส แอปเปิล อะพอมมิโล แอน อะวอเทอร์มิเลิ่น ทุ ดู ยู แฮฟ
ออเรนจส )
เอา 2 ลูกค่ะ และฉันอยากได้แอปเปิ้ล 6 ลูก ส้มโอ 1 ลูก และแตงโม 1 ลูก คุณมีส้มไหมคะ


A : Yes. How many do you want ?
( เยส ฮาว เม้นี่ ดู ยู ว้อนท )
มีค่ะ คุณต้องการเท่าไหร่คะ


B : I want 2 kilos.
( ไอ ว้อน ทู กิโลส์ )
ฉันต้องการ 2 กิโลค่ะ




A : Is there anything else ?
( อิส แด เอนี่ทิ่ง เอ้ลส )
คุณต้องการสิ่งอื่นอีกไหม


B : No, that’ s all
( โน แดทส ออล )
ไม่ล่ะ พอแล้ว


คำศัพท์ ( Vocabulary )
Buy บาย ซื้อ
Fruit ฟรุ้ท ผลไม้
Papaya พัพพ่ะย่ะ มะละกอ
Coconut โคโคนัท มะพร้าว
Mango แม่งโก มะม่วง
Pomelo พอมมิโล ส้มโอ
Orange ออเร้นจ ส้ม
Pineapple ไพน์แอปเปิ้ล สับปะรด
Jackfruit แจ็คฟรุ้ท ขนุน






- Can I help you ?
( แคน ไอ เฮล ยู )
มีอะไรให้ฉันช่วยไหม


- I want to buy some fruit.
(ไอ ว้อน ทู บาย ซัม ฟรุ้ท )
ฉันต้องการซื้อผลไม้




- Do you have papayas ?
( ดู ยู แฮฟ พัพพ่ะย่ะ )
คุณมีมะละกอไหม


- How many do you want ?
( ฮาว เม้นี่ ดู ยู ว้อน )
คุณต้องการเท่าไหร่


- Is there anything else ?
( อิส แด เอนี่ทิ่ง เอ้ลส )
คุณต้องการสิ่งอื่นอีกไหม


- No, that’ s all.
( โน แดทส ออล )
ไม่ล่ะ พอแล้ว

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Liverpool
ชื่อเต็มLiverpool Football Club
ฉายาThe Reds, Red Machine, The Kop
ก่อตั้ง15 มีนาคม พ.ศ. 2435 (ค.ศ. 1892)
(โดย จอห์น โฮลดิง)
สนามกีฬาแอนฟิลด์ ลิเวอร์พูล
(ความจุ: 45,276 คน[1])
เจ้าของจอห์น ดับเบิลยู. เฮนรี และ ทอม เวอร์เนอร์
(New England Sports Ventures)
ประธานทอม เวอร์เนอร์
ผู้จัดการรอย ฮอดจ์สัน
ลีกเอฟเอ พรีเมียร์ลีก
2009-10ที่ 7
สีชุดทีมเหย้า
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล (อังกฤษ: Liverpool Football Club) เป็นหนึ่งในสโมสรที่ประสบความสำเร็จสูงสุดทีมหนึ่งในฟุตบอลอังกฤษ ลิเวอร์พูลครองแชมป์ดิวิชั่น 1 ถึง 18 ครั้ง ครองแชมป์ยูโรเปียนคัพ 5 ครั้ง ก่อตั้งใน วันที่ 15 มีนาคม ปี พ.ศ. 2435 (ค.ศ. 1892) ลิเวอร์พูลเป็นสโมสรหนึ่งในกลุ่มจี-14 มีฉายาในภาษาไทยว่า "หงส์แดง" พร้อมด้วยคำขวัญ "You'll Never Walk Alone"
สโมสรลิเวอร์พูลก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2435 และก้าวขึ้นมาเป็นสโมสรแนวหน้าของอังกฤษอย่างรวดเร็วจนประสบความสำเร็จเป็นแชมป์ลีกสูงสุดชองประเทศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2444 (ฤดูกาล1900/01) และครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2449 (ฤดูกาล1905/06) ครั้งที่ 3 และ 4 เป็นแชมป์สองฤดูกาลติดใน พ.ศ. 2465 กับ พ.ศ. 2466 (ฤดูกาล1921/22 กับ 1922/23) แชมป์ลีกสูงสุดครั้งที่ 5 คือปี พ.ศ. 2490 (ฤดูกาล 1946/47) อย่างไรก็ตามลิเวอร์พูลพบกับช่วงตกต่ำต้องไปเล่นในในดิวิชัน 2 ใน พ.ศ. 2497 (ฤดูกาล1953/54) ภายหลังจึงได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสโมสรในปี พ.ศ. 2502 สโมสรได้แต่งตั้ง บิลล์ แชงก์คลี เป็นผู้จัดการทีม เขาได้เปลี่ยนแปลงทีมไปอย่างมาก จนประสบความสำเร็จได้เลื่อนชั้นในปี พ.ศ. 2505 (ฤดูกาล 1961/62) และได้แชมป์ลีกสูงสุดของประเทศอีกครั้งใน พ.ศ. 2507 (ฤดูกาล1963/64) หลังจากรอคอยมานานถึง 17 ปี บิล แชงก์ลี คว้าแชมป์เอฟเอคัพเป็นถ้วยแรกของสโมสรลิเวอร์พูลในปี พ.ศ. 2508 (ฤดูกาล 1964/65)และคว้าแชมป์ดิวิชั้น1อีกครั้งในฤดูกาลต่อมา พ.ศ. 2509 (ฤดูกาล1965/66) ความสำเร็จของแชงก์ลียังเดินหน้าต่อไป เมื่อลิเวอร์พูลคว้าแชมป์ยูฟ่าคัพ พร้อมแชมป์ดิวิชั่น 1 ใน พ.ศ. 2516 (ฤดูกาล1972/73) และเอฟเอคัพ อีกครั้งใน พ.ศ. 2517 (ฤดูกาล1973/74) หลังจากนั้นบิลล์ แชงก์คลีขอวางมือจากสโมสร โดยให้ผู้ช่วยของเขาสืบทอดตำแหน่ง ผู้จัดการทีมแทน นั่นคือ บ็อบ เพสส์ลี่
สโมสรต้องประสบกับความซบเซาในช่วงหนึ่งหลังจากได้แชมป์ลีกสูงสุดในปี พ.ศ. 2533 คือได้เพียงเอฟเอคัพ 1 ใบ ปี พ.ศ. 2535 กับลีกคัพ 1ใบในปี พ.ศ. 2538 แต่ก็ฟื้นฟูขึ้นมาได้เมื่อพวกเขาสามารถคว้าแชมป์บอลถ้วยทั้งในระดับประเทศและระดับทวีปถึง 3 แชมป์ (คาร์ลิ่ง ลีกคัพ,เอฟเอคัพ รวมทั้งยูฟ่าคัพ) ได้ในปี พ.ศ. 2544 (ฤดูกาล2000/01) ในปี 2544 นี้ลิเวอร์พูลยังคว้าถ้วยยูฟ่าซูเปอร์คัพที่เอาชนะบาร์เยิร์น มิวนิค แชมป์ยูฟ่า แชมเปี้ยนลีกในปีนั้น รวมทั้งเอาชนะแมนฯยูฯคู่ปรับตัวฉกาจในถ้วยแชริตี้ชิลด์ก่อนเปิดฤดูกาลพรีเมียร์ลีกเป็นปีที่หอมหวานปีหนึ่งของกองเชียร์ลิเวอร์พูล นักเตะสำคัญยุคนั้นได้แก่ ไมเคิล โอเว่น,เอมิล เฮสกี้,สตีเว่น เจอร์ราร์ด,ซามี่ ฮูเปีย และยอร์น อาร์เน่ รีเซ่ เป็นต้น ทีมชุดนี้ผู้จัดการทีมคือ เชร์รา อุลลิเย่ ชาวฝรั่งเศส ผลงานเป็นชิ้นเป็นอันส่งท้ายของอุลลิเย่คือ การนำทีมลิเวอร์พูลชนะแมนฯยูฯ 2-0 ในนัดชิงฟุตบอลลีกคัพ พ.ศ. 2546 (ฤดูกาล2002/03) แชมป์ที่ยิ่งใหญ่อีกครั้งของลิเวอร์พูลคือปี 2548 ชนะในศึกยูฟ่า แชมเปียนลีกเป็นครั้งที่ 5 ของสโมสร ซึ่งเป็นการแข่งขันที่ตื่นตาตื่นใจครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์บอลยุโรป เมื่อลิเวอร์พูลไล่ตีเสนอทีมเอซี มิลาน เป็น 3 -3 ทั้งที่โดนยิงนำไปก่อนถึง 3 -0 และในที่สุดคว้าแชมป์มาได้จากการยิงจุดโทษชนะ 3-2 เป็นทีมจากอังกฤษที่ครองถ้วยยูโรเปียนคัพ (ปัจจุบันคือ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก) มากครั้งที่สุดถึง 5 สมัย ผู้เล่นที่สำคัญในยุคนั้น อาทิ สตีเว่น เจอร์ราร์ด, ซาบี้ อลอนโซ่, ดีทมา ฮามันน์, วลาดิเมียร์ ซมิเซอร์, เจอร์ซี่ ดูเด็ค และเจมี่ คาราร์เกอร์ คุมทัพโดย ผู้จัดการทีมสัญชาติสเปน ราฟาเอล เบนิเตซ ในฤดูกาลต่อมา พ.ศ. 2549 (ฤดูกาล 2005/06) ลิเวอร์พูลของเบนิเตซทำให้แฟนบอลต้องลุ้นอีกครั้ง ในนัดชิงเอฟเอคัพ เมื่อต้องอาศัยลูกยิงมหัศจรรย์ของ สตีเว่น เจอร์ราร์ดในช่วงทดเวลาบาดเจ็บตีเสมอทีมเวสต์แฮมคู่ชิงแชมป์ในปีนั้นทำให้เสมอกันที่ 3-3 ต้องตัดสินแชมป์ด้วยการยิงจุดโทษอีกครั้ง และลิเวอร์พูลก็สามารถชนะไปได้ 3-1 เป็นแชมป์สำคัญรายการล่าสุดที่ลิเวอร์พูลทำได้ แต่รายการที่แฟนบอลต้องการมากที่สุดคือแชมป์ลีกของประเทศ หรือพรีเมียร์ลีกในปัจจุบัน ซึ่งปีล่าสุดที่ลิเวอร์พูลคว้ามาได้คือ พ.ศ. 2533 (ฤดูกาล1989/90) จากการคุมทีมของเคนนี่ ดัลกลิส ซึ่งต่อมาภายหลังดัลกลิสสามารถนำแบล็คเบิร์นค้าแชมป์พรีเมียร์ลีกได้ในปี พ.ศ. 2538 (ฤดูกาล 1994/95)
สนามปัจจุบันของสโมสรคือ แอนฟิลด์ มีความจุ 45,362 คน ในขณะเดียวกันสนามใหม่กำลังถูกวางแผนก่อสร้างในชื่อ สนามสแตนลีย์พาร์ก ความจุประมาณ 60,000 อยู่ในระหว่างการเจรจาระหว่างเจ้าของและทางเอชเคเอส สำนักงานสถาปนิกอเมริกัน [2]

เนื้อหา

[ซ่อน]

 ประวัติสโมสร

จอห์น โฮลดิ้ง นักธุรกิจชาวเมืองลิเวอร์พูลได้เช่าพื้นที่บริเวณ แอนฟิลด์ โรด เพื่อใช้สร้างสนามฟุตบอล และเมื่อสร้างเสร็จได้ให้สโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตัน เช่าเป็นสนามแข่ง และเมื่อทีมเอฟเวอร์ตันได้เข้าสู่สมาชิกฟุตบอลลีก จอห์น โฮลดิ้ง พยายามจะเข้าไปบริหารงานในทีมเอฟเวอร์ตันและได้เพิ่มค่าเช่าสนามที่ทีมได้เช่าอยู่ ฝ่ายกลุ่มบริหารของเอฟเวอร์ตันจึงยกเลิกสัญญาเช่าสนาม และทีมเอฟเวอร์ตันได้ย้ายสนามไปอีกฝากของสวนสาธารณะ สแตนลี่ย์พาร์ค เพื่อไปสร้างสนามเป็นของตัวเองโดยใช้ชื่อสนามว่า กูดีสันพาร์ก ดังนั้น จอห์น โฮลดิ้ง จึงต้องการสร้างทีมฟุตบอลขึ้นมา และ จอห์น โฮลดิ้ง จึงไปชวนเพื่อนสนิทของเขาชื่อ จอห์น แมคเคนน่า มาทำหน้าที่ประธานสโมสรและได้ตั้งชื่อทีมฟุตบอลนี้ว่า Liverpool Football Club

 ยุคก่อตั้งสโมสร

หลังจากที่สโมสรลิเวอร์พูลก่อตั้งได้ไม่นาน ได้จัดการแข่งขัดนัดอุ่นเครื่อง ซึ่งเป็นการลงสนามนัดแรกของทีมลิเวอร์พูลกับทีมร็อตเตอร์แฮม ซึ่งผลการแข่งขันปรากฏว่า ทีมลิเวอร์พูลชนะไปด้วยผลการแข่งขัน 7-1 และลิเวอร์พูล ได้ลงแข่งขันฟุตบอลลีกของแคว้น แลงคาเชียร์ ปรากฏว่าลิเวอร์พูลลงแข่งทั้งหมด 22 นัด ชนะ 17 นัด และได้แชมป์ไปครอง ส่งผลให้ทางสโมสรสามารถสมัครเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลลีกซึ่งได้รับการยอมรับและถูกคัดเลือกให้ลงเล่นในดีวิชั่น 2 ในฤดูกาล 1893-1894 สโมสรจึงได้เลือกสัญลักษณ์ของทีมเป็น นกลิเวอร์เบิร์ด (Liverbird) ซึ่งเป็นนกแถบทะเลไอริช บริเวณแม่น้ำเมอร์ซี่ย์ โดยที่ปากนกคาบใบไม้ไว้ ทีมลิเวอร์พูลได้ลงทำการแข่งขันอย่างเป็นทางในฟุตบอลลีก ดิวิชั่น 2 ในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1893 โดยทีมลิเวอร์พูลออกไปเยือนทีมมิดเดิลสโบรซ์ ไอโรโนโปลิส และทีมลิเวอร์พูลสามารถได้แชมป์มาครองโดยที่ไม่แพ้ทีมใดเลยตลอดทั้งฤดูกาล (ทั้งหมด 28 นัด) แต่การคว้าแชมป์ลีกดิวิชั่น 2 ในตอนนั้นยังไม่ได้เลื่อนชั้นโดยทันที ต้องไปแข่งนัดชิงดำกับทีมอันดับสองก่อน โดยทีมอันดับสองในขณะนั้นคือ ทีมนิวตัน ฮีธ (ทีมแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดในปัจจุบัน) และลงแข่งขันที่สนามของทีมแบล็คเบิร์น ซึ่งทีมลิเวอร์พูลเอาชนะทีมนิวตัน ฮีธไปด้วยผล 2-0 และได้เลื่อนชั้นสู่ดิวิชั่น 1 ในที่สุด

ที่มาของ The Kop

ด้านหน้าอัฒจันทร์ฝั่ง เดอะ ค็อป
เดอะ ค็อป เป็นชื่อที่ใช้เรียกตามชื่อของเนินเขาแห่งหนึ่งใน นาทาล ประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งคนท้องถิ่นจะรู้จักกันในนาม สปิออน ค็อป โดยเกิดเหตุการณ์การทำสงครามบัวร์ขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1900 อังกฤษได้ส่งทหารไปกว่า 300 นาย โดยส่วนใหญ่เป็นชาวเมืองลิเวอร์พูล แต่แล้วในสงครามนั้นเกิดเหตุการณ์น่าเศร้าขึ้นคือ อังกฤษได้เสียทหารไปเกินกว่าครึ่ง เพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้น นักข่าวกีฬาของหนังสือพิมพ์ลิเวอร์พูลเดลี่โพสต์ ชื่อ เออร์เนสต์ เอ็ดเวิร์ตส์ จึงเสนอชื่อ สปิออน ค็อป ตามชื่อของเนินเขาลูกนั้น เป็นชื่อของอัฒจันทร์หลังประตูในการสร้างสนามใหม่ขึ้นมา เพื่อเป็นเกียรติในความกล้าหาญของทหารอังกฤษทั้ง 300 นาย ซึ่งต่อมาอัฒจันทร์แห่งนี้ได้กลายอัฒจันทร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกของฟุตบอลแห่งหนึ่ง. ในปี ค.ศ. 1928 ได้มีการต่อเติมอัฒจันทร์แห่งนี้ใหม่ และเมื่อใดเมื่อมีการแข่งขันฟุตบอลของทีมลิเวอร์พูลขึ้น คนที่ไปดูการแข่งขันของทีมบนอัฒจันทร์จะเรียกตัวเองว่า เดอะ ค็อป (The Kop) และแล้วจากเหตุการณ์โศกนาฎกรรมที่สนามฮิลส์โบโร่ ในปี ค.ศ. 1989 ซึ่งเกิดการถล่มของอัฒจันทร์ขึ้น ในการแข่งขันฟุตบอลเอฟเอ คัพ กับ นอร์ทติ้งแฮม ฟอเรสต์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตไป 96 คน จึงมีคำสั่งให้ทุกสนามเปลี่ยนจากอัฒจันทร์ยืนเป็นแบบนั่งทั้งหมด และนั่นเป็นการปิดฉากของอัฒจันทร์ สปิออน ค็อป อัฒจันทร์แบบยืนที่มีความยิ่งใหญ่แห่งหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีอัฒจันทร์ใหม่ขึ้นมาและใช้ชื่อว่า นิว ค็อป ซึ่งความหมายต่าง ๆ ยังคงเหมือนเดิม แม้ชื่ออัฒจันทร์จะเปลี่ยนไปแล้วก็ตาม นิว ค็อป ยังคงมีกลิ่นอายของประวัติเหล่านั้นอยู่เต็มเปี่ยม

 ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2010[3]

 ผู้เล่นชุดพรีเมียร์ลีก

Note: ธงชาติที่ปรากฎบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่า ตามความเหมาะสม เพราะบางผู้เล่นอาจถือสองสัญชาติ
หมายเลขตำแหน่งผู้เล่น
1GKแบรด โจนส์
2DFเกล็น จอห์นสัน
3DFพอล คอนเชสกี
4MFราอูล เมยเรเลส
5DFดาเนียล แอ็กเกอร์
6DFฟาบิโอ ออเรลิโอ
8MFสตีเฟน เจอร์ราร์ด (กับตันทีม)
9FWเฟร์นันโด ตอร์เรส
10MFโจ โคล
14FWมิลาน โยวาโนวิช
16DFโซทิริออส คีร์เกียกอส
หมายเลขตำแหน่งผู้เล่น
17MFมักซี โรดริเกวซ
18FWเดียร์ค เคาท์
19FWไรอัน บาเบิล
21MFลูคัส เลวา
23DFเจมี คาร์ราเกอร์ (รองกัปตัน)
24FWดาวิด เอ็นก็อก
25GKเปเป เรนา
26MFเจย์ สเพียริง
28MFคริสเตียน โพลเซน
37DFมาร์ติน สเคอร์เทล

 

 ผู้เล่นสำรอง

Note: ธงชาติที่ปรากฎบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่า ตามความเหมาะสม เพราะบางผู้เล่นอาจถือสองสัญชาติ
หมายเลขตำแหน่งผู้เล่น
12FWดานี ปาเชโก
22DFแดนนี วิลสัน
30GKชาร์ลส์ อิต็องด์เช
33MFจอนโจ เชลวีย์
34DFมาร์ติน เคลลี
36DFสตีฟ เออร์วิน
39FWนาธาน เอคเคิลสตัน
41GKมาร์ติน แฮนเซน
43GKดีน บูซานิส
46MFเดวิด อามู
47DFอังเดร์ วิสดอม
หมายเลขตำแหน่งผู้เล่น
48MFเกร์ราโด บรูนา
49DFแจ็ค โรบินสัน
DFคริส มาแว็งกา
DFเอมมานูเอล เมนดี
MFอเล็กซ์ คูเปอร์
DFจอห์น ฟลานาเกน
MFนิโกลา โคห์เลิร์ต
MFไมเคิล โรเบิร์ตส์
FWยอร์ดี บรูเวอร์
FWนิโกลา ซาริช
FWอันดราส ซิมอน

 

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว

Note: ธงชาติที่ปรากฎบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่า ตามความเหมาะสม เพราะบางผู้เล่นอาจถือสองสัญชาติ
หมายเลขตำแหน่งผู้เล่น
31MFนาบิล เอล ซาร์ (ไปสโมสร PAOK จนกว่าจะจบการแข่งขันในฤดูกาล 2010–11)[4]
32DFสตีเฟน ดาร์บี (ไปสโมสร Notts County จนถึงวันที่ 3 มกราคม 2011)[5]
40DFดาเนียล อยาลา (ไปสโมสร Hull City จนถึงวันที่ 1 มกราคม 2011)[6]
42GKปีเตอร์ กูลัคชี (ไปสโมสร Tranmere Rovers จนถึงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2010)[7]
44MFวิคเตอร์ พาลส์สัน (ไปสโมสร Dagenham & Redbridge จนถึงวันที่ 4 มกราคม 2011)[8]
45MFโทมัส อินซ์ (ไปสโมสร Notts County จนถึงวันที่ 3 มกราคม 2011)[9]
MFอัลแบร์โต อาควิลานี (ไปสโมสร ยูเวนตุส จนกว่าจะจบการแข่งขันในฤดูกาล 2010–11)[10]
DFฟิลิปป์ เดเกน (ไปสโมสร Stuttgart จนกว่าจะจบการแข่งขันในฤดูกาล 2010–11)[11]
DFเอมิเลียโน อินชัว (ไปสโมสร Galatasaray จนกว่าจะจบการแข่งขันในฤดูกาล 2010–11)[12]

 สต๊าฟ โค้ช

ณ วันที่ 4 กันนายน 2010[13]
ชื่อตำแหน่ง
รอย ฮอดจ์สันผู้จัดการทีม
แซมมี ลีผู้ช่วยผู้จัดการทีม
จอห์น แม็คมานผู้จัดการทีมสำรอง
จอห์น อาร์ชเตอร์เบิร์กโค้ชผู้รักษาประตูสำรอง
เอดูอาร์โด มาเซียหัวหน้าแมวมอง
ไมค์ แม็คกลีนผู้ช่วยหัวหน้าแมวมอง
ปีเตอร์ บรัคเนอร์หัวหน้าฝ่ายแพทย์และวิทยาศาสตร์การกีฬา
ซาฟ อิคบัลแพทย์ประจำสโมส
ดาร์เรน เบอร์เจสหัวหน้าฝ่ายฟิตเนส
ฟิล โคลส์หัวหน้านักกายภาพบำบัด
ร็อบ ไพรซ์นักกายภาพบำบัด
แม็ตต์ คาน็อปปินสกีนักกายภาพบำบัด
คริส มอร์แกนนักกายภาพบำบัด
แอนดรูว เนียลอนนักกายภาพบำบัด
จอร์แดน มิลซัมโค้ชฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย
อลัน แม็คคอลนักวิทยาศาสตร์การกีฬา
อีวาน ออร์เตกานักบำบัดโรคทางกีฬา
พอล สมอลล์หมอนวด
เกรแฮม คาร์เตอร์ผู้จัดการด้านชุดแข่ง
ลี ราดคลิฟฟ์ผู้ดูแลชุดแข่ง
แบร์รี่ ดรัสต์ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา
เจมส์ มอร์ตันที่ปรึกษาด้านโภชนาการ
บิลลี พาร์รีนักวิเคราะห์วิดีโอ

 ผู้จัดการทีม

เพิ่มคำอธิบายภาพ
สนามแอนฟิลด์
ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2010